ปลวกมาจากไหน
หลายคนอาจจะสงสัยว่า “ปลวก” ที่เราเจอกันอยู่ตามบ้าน อาคาร คอนโด นั้นมาจากไหน ขึ้นบ้านเราได้ยังไง ทั้งๆที่เราเองก็คิดว่าไม่น่าจะมีช่องทางที่ปลวกสามารถเข้ามาในบ้านเราได้ยังไง
วันนี้แอดมินมีคำตอบมาให้ทุกคนได้คลายข้อสงสัยกันค่ะ
ปลวกมาจากไหน
1. บินเข้ามาในบ้าน
ใช่ค่ะ อ่านไม่ผิดค่ะ ปลวก บิน เข้ามาในบ้านเราจริงๆ โดยบินเข้ามาในรูปของ “ แมลงเม่า ” เมื่อแมลงเม่าบินมาเจอคู่แล้วก็จะสลัดปีกลงดินพากัน สร้างรังใต้ดินต่อไปค่ะ หากหน้าฝนมีแมลงเม่ามาบินรอบบ้านแล้วล่ะก็ อย่าได้นิ่งนอนใจเชียวนะคะ เพราะเป็นไปได้ว่าเจ้าปลวกตัวร้ายกำลังย่องเข้ามาสร้างรังในบ้านของเราค่ะ ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แมลงเม่า
2. มาจากใต้ดิน
ปลวก สามารถคลานเข้ามาในช่วงรอยต่อของ บ้าน อาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่สัมผัสกับดิน ปลวกไม่สามารถเจาะปูน หรือซีเมนต์ได้ แต่หากมีรอยแตกเพียงนิดเดียวแค่ไม่กี่มิลลิเมตร เจ้าปลวกตัวน้อยก็สามารถเข้ามาทำรังในบ้านเราได้ทันที
เห็นแล้วใช่ไหมคะ ว่าเจ้าปลวกตัวน้อยนั้นสามารถบุกเข้ามาในบ้านของเราได้อย่างง่ายดาย แต่เอ.. จะมี วิธีกำจัดปลวก เหล่านี้ยังไงได้บ้าง แอดมินมีวิธีแนะนำที่ทำได้ง่ายๆและได้ผลดีเลยทีเดียวค่ะ
ปลวกที่พบในไทยมีกี่ชนิด
1. ปลวกใต้ดิน (Subterranean Termites)
ปลวกใต้ดินเป็นปลวกที่มีอายุเก่าแก่ ถึง 55 ล้านปี อาศัยอยู่ทั่วทุกมุมโลกยกเว้น อลาสก้า ปลวกใต้ดินชอบอากาศที่อบอุ่น ขนาดของปลวกใต้ดิน ยาวประมาณ 0.2-0.22 ซม. แมลงเม่าของปลวกพันธุ์นี้จะมีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ ปลวกงานของสายพันธุ์ใต้ดินจะมีสีครีม ขนาด 0.2 -0.3 ซม. ปลวกใต้ดินเป็นปลวกที่ต้องพึ่งความชื้นเพื่อความอยู่รอด เมื่อมันออกมาหาอาหารบนผิวดิน หรือนอกรัง มันต้องสร้างเส้นทางที่จะพามันกลับไปใต้ดินเพื่อเติมความชื้นให้ตัวมันเอง ส่วนใหญ่ปลวกชนิดนี้จะทำรังอยู่ใต้ดิน แต่บางครั้งหากเรามีไม้ หรือเฟอร์นิเจอร์ที่ชื้นๆ หรือพื้นที่ที่น้ำรั่ว ท่อแตก ไม่ว่าพื้นที่ไหนที่มีความชื้น ก็มีความเป็นไปได้ว่าปลวกใต้ดินอาจขึ้นไปทำรังในบริเวณดังกล่าว เราสามารถสังเกตพฤติกรรมของปลวกใต้ดินได้ คือ มันจะสร้างทางเดินไว้เพื่อเชื่อมต่อกับแหล่งอาหารของมัน ซึ่งทางเดินก็สร้างมาจากมูลของพวกมัน นอกจากนี้เส้นทางเดินของปลวกใต้ดินยังใช้เพื่อปกป้องตัวมันจากผู้ล่าชนิดอื่นๆด้วย เช่น มด เป็นต้น ความเสียหายที่เกิดจากปลวกใต้ดิน ใช้เวลานานพอสมควร โดยมันจะค่อยๆกินไม้จากเนื้อไม้อ่อนๆก่อน นั่นก็คือเนื้อไม้ด้านใน ส่งผลให้เวลาเราเคาะกำแพง หรือพื้นไม้ต่างๆ เราจะรู้สึกได้ว่ามันกลวงๆ
2. ปลวกไม้แห้ง (Drywood Termites)
ปลวกไม้แห้งมีความอันตรายรองจากปลวกใต้ดิน เนื่องจากปลวกชนิดนี้พึ่งความชื้นน้อยกว่าปลวกใต้ดิน ปลวกพวกนี้จะอาศัยอยู่ในต้นไม้ หรือวัสดุอะไรก็ตามที่เป็นไม้ ปลวกไม้แห้งมักจะพบตามธรรมชาติมากกว่าในที่อยู่อาศัย หรือโรงงาน มันจะอยู่ในต้นไม้ที่ตายแล้ว หรืออยู่ตามไม้อัด ไม้แปรรูป ขนาดของปลวกไม้แห้งไม่ต่างจากปลวกใต้ดิน คือมีขนาดประมาณ 0.2 – 0.5 ซม. ปลวกไม้แห้งนั้นกำจัดได้ยากกว่าปลวกใต้ดิน เพราะการวางเหยื่อกำจัดปลวก(เชื่อว่าเป็นการกำจัดปลวกที่ดีที่สุด) ใช้ได้ผลน้อยกับปลวกไม้แห้ง เพราะฉะนั้นการฉีดพ่นกำจัดปลวกและการอัดน้ำยาจะให้ผลดีกว่า
ปลวกไม้แห้งจะชอบกินไม้ทุกชนิดทั้งไม้เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อน หากปลวกชนิดนี้เข้ามาในที่อยู่อาศัยแล้ว มันก็จะอยู่ตามขอบประตู ชั้นวางของที่เป็นไม้ หรือไม่ก็ในวัสดุที่เป็นไม้เก่าๆ หากเราไม่ป้องกัน เช่น เคลือบผิวไม้ โอกาสที่จะโดนปลวกไม้แห้งระบาดก็มีสูง ปลวกไม้แห้งจะใช้ความชื้นในการกินและเผาผลาญ ประกอบกับด้วยความที่มันอาศัยอยู่ในไม้ ส่งผลให้การที่มันจะโดนล่าโดยศัตรูทางธรรมชาติเป็นไปได้ยากมาก นอกจากนี้ปลวกไม้แห้งจะกินไม้โดยเจาะรูลึกลงไปในไม้เรื่อยๆ แล้วขับถ่ายออกมาเป็นเม็ดสีน้ำตาล เราสามารถสังเกตเห็นได้ตามพื้นที่ปลวกระบาด เพราะฉะนั้นการกำจัดปลวกไม้แห้งจำเป็นต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เสียหายบานปลาย
3. ปลวกไม้ชื้น (Dampwood Termite)
ปลวกไม้ชื้นเป็นปลวกที่มีขนาดใหญ่กว่าปลวกใต้ดิน โดยขนาดตัวของมันจะอยู่ที่ประมาญ 0.2 – 0.25 ซม. ปลวกไม้ชื้นนั้น เวลามันระบาด เราจะตรวจสอบได้ยากมาก เพราะมันสามารถซ่อนตัวได้อย่างแยบยล อีกทั้งยังสร้างความเสียหายมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ปลวกไม้ชื้นจะไม่สร้างทางเดินเหมือนปลวกใต้ดิน และจะไม่สร้างโพรงแล้วทิ้งมูลไว้เหมือนปลวกไม้แห้ง ปลวกไม้ชิ้นจะใช้มูลของตัวเองในการอุดรูต่างในรัง หรือพื้นที่ของมันเพื่อเก็บความชื้น ปลวกไม้ชื้นจะอาศัยความชื้นจากไม้ในการดำรงชีวิต ส่วนใหญ่ปลวกไม้ชื้นไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเก็บความชุ่มชื้น มันจะอาศัยไม้ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำมาทำเป็นรัง หากที่อยู่อาศัย มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำเยอะ ก็จะส่งผลให้ดึงดูดปลวกชนิดนี้ ปลวกไม้ชื้นสามารถระบาดได้หากเราไม่ได้ดูแลระบบอากาศ ระบบท่อ หรือ การละเลยเรื่องความชื้นต่างๆ ปลวกไม้ชื้นสามารถสร้างอุโมงค์ในการขยายพื้นที่และหาอาหารโดยใช้มูลของมันเอง ส่งผลให้เวลาแห้งเราจะเห็นเศษๆมูลปลวกตามทางเดินอุโมงค์เหล่านี้
วิธีป้องกันปลวก ที่แนะนำ
การอัดน้ำยาป้องกันปลวก
การอัดน้ำยาป้องกันปลวก โดยการทำให้พื้นดินใต้บริเวณบ้านเป็นพิษต่อปลวก หากที่บ้านมีระบบวางท่อกำจัดปลวกอยู่แล้ว แนะนำให้อัดน้ำยาเพื่อป้องกันปลวกในทุกๆปี เพื่อประสิทธิภาพสุงสุดในการป้องกันปลวกค่ะ
แต่หากยังไม่มีท่อกำจัดปลวกก็สามารถเจาะเพื่อทำการอัดน้ำยาได้ค่ะ
การวางสถานีเหยื่อรอบบ้าน
วิธีนี้จะสามารถป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัยและสัตว์เลี้ยงในบ้าน
สำหรับสาย DIY เรามีไอเท็มแนะนำ สำหรับการกำจัดปลวกด้วยตัวเองค่ะ
ไอเท็มแรก ใช้น้ำยากำจัดปลวกผสมกับน้ำให้ได้สัดส่วนตามฉลากที่บอก จากนั้นนำไปฉีดพ่นบริเวณที่พบปลวกค่ะ พิกัดสินค้า น้ำยากำจัดปลวก
ไอเท็มสอง ใช้ผงโรยป้องกันปลวกค่ะ วิธีนี้เหมาะกับท่านที่มีพื้นที่เยอะ หรือมีสวนเป็นของตัวเอง อยากให้พื้นที่ไหน ไม่มีปลวกก็จัดการโรยให้ทั่วค่ะ พิกัดสินค้า ผงกำจัดปลวก
ไอเท็มสาม อันนี้สำหรับท่านที่มีปัญหาเรื่องแมลงเม่านะคะ สามารถใช้เครื่องไฟดักแมลงในการกำจัดแมลงเม่าได้ค่ะ เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะไม่กำจัดแค่แมลงเม่า แต่แมลงอื่นๆก็สามารถกำจัดได้ค่ะ เหมาะกับบ้านที่มีงบหน่อยนะคะ เพราะ เครื่องราคาสูง พิกัดสินค้า เครื่องไฟดักแมลง
พบปัญหาปลวก แมลงและสัตว์รบกวน
ปรึกษา/สำรวจหน้างานฟรี
inbox : m.me/vgs.pestcontrol
โทร. 02-312-3333
Hotline : 085-330-9999
เยี่ยมชม website ได้ที่ : www.vgs.co.th
ฉีดปลวก กำ จัด ปลวก กำจัด แมลง เรื่อง ปลวก ปลวก ปลวกขึ้นบ้าน
กทม (2) กรุงเทพ (1) กำจัดปลวก (4) กำจัด ปลวก (2) กำจัดยุง (1) กำจัดแมลงสาบ (2) ฉีดปลวก (1) บริการกำจัดแมลงสาบ (2) บริษัทกำจัดปลวก (4) บริษัทกำจัดแมลง (1) ปลวก (2) พ่นควันยุง (1) พ่นยุง (1) ยุง (1) สำรวจฟรี (1) แมลงสาบ (2) แมลงเม่า (2) ไล่ยุง (1) ไล่แมลงสาบ (1)