ยุง

ยุง (mosquito)

จัดเป็นแมลงพาหะนำโรคหลายชนิด อาทิ โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเลีย โรคเท้าช้าง โรคเด็งกิ และโรคไข้สมองอักเสบ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยยุงที่สำคัญ ได้แก่ ยุงลาย ยุงก้นปล่อง ยุงรำคาญ และยุงเสือ

วงจรชีวิต

วงจรชีวิตยุงประกอบด้วย 4 ระยะ ได้แก่

1. ตัวเต็มวัย ( adult/imago)

ยุงตัวเต็มวัยที่ฟักออกจากดักแด้จะเอาส่วนหัวออกจากรอยแตกด้านหลังของ ใช้เวลาการฟักเพียง 2-3 ชั่วโมง เมื่อออกจากคราบแล้วจะพักตัวชั่วครู่ให้ปีกแห้ง แล้วจึงบิน โดยยุงตัวเมียที่ฟักตัวแล้วจะกินเลือดภายใน 24 ชั่วโมง

2. ไข่ยุง ( egg )

ยุง อาจวางทีละฟอง  เป็นแพ หรือ raft เป็นกลุ่มคล้ายดอกไม้ cluster ( Mansonia ) จำนวนไข่แต่ละครั้ง 51-150 ฟอง จำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาด และชนิดของเลือดที่กิน

ตลอดชีวิตของยุงจะออกไข่หลายครั้ง ภายใน 2-4 วัน ไข่ของ Anopheles, Culex และ Mansonia เมื่อถึงเวลา ถ้าไม่แช่น้ำ ตัวลูกน้ำภายในไข่จะตาย แต่ไข่ของยุงลาย ตัวอ่อนภายในจะไม่ตาย อยู่ได้เป็นปี เมื่อนำมาแช่น้ำจะฟักตัวเป็นลูกน้ำได้ ยุงในเขตหนาวออกไข่ 1 ครั้ง ไข่จะฟักตัวเมื่อหิมะละลาย โดยในเขตร้อนบริเวณน้ำท่วม เมื่อยุงออกไข่แล้วจะฟักตัวไม่พร้อมกัน โดยส่วนมากไข่จะฟักตัวในคราวน้ำท่วมครั้งแรก แต่ไข่บางฟองจะฟักตัวในคราวน้ำท่วมครั้งต่อไป

3. ลูกน้ำ ( larva/wrigglers )

ลูกน้ำมี 4 ระยะ จากการลอกคราบ ( moult, cast, pelt ) 4 ครั้ง กลายเป็นดักแด้ ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 1-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ อาหาร และชนิดของยุง โดยลูกน้ำหายใจเอาอากาศเข้าทางรูเปิดที่ท่อปากดูด (siphon) แต่บางชนิดหายใจทางผิวหนัง

ลูกน้ำยุงเสือใช้ท่อปากดูดเจาะในรากพืชดึงเอาออกซิเจนจากพืชมาใช้ สำหรับ gill ไม่ใช้หายใจ แต่ใช้บังคับ แรงดันของตัวลูกน้ำ โดยเป็นตัวดูด chloride เข้าออก ดังนั้น ยุงน้ำกร่อยจะมีเหงือกใหญ่

4. ดักแด้ ( pupa/tumblers )

ดักแด้ประกอบด้วยส่วน cephalothorax และ abdomen มี paddle ท่อหายใจอยู่บริเวณอก ไม่กินอาหาร ใช้เวลา 2-3 วัน กลายเป็นตัวเต็มวัย

อายุขัยของยุง ( Longevity )

ตามปกติยุงตัวผู้มีอายุ 6-7 วัน แต่ถ้าให้อาหารพวกคาร์โบไฮเดรตอย่างเพียงพอ และมีความชื้นสูงจะชีวิตได้นาน 30 วัน ยุงตัวเมียอาจมีชีวิตได้ 4-5 เดือน 

ลักษณะนิสัย

แหล่งเพาะพันธุ์ แบ่งได้ ดังนี้

1. น้ำไหล ได้แก่ ยุงก้นปล่อง Anopheles minimus อยู่บริเวณริมลำธาร มีน้ำไหลเอื่อย มีต้นหญ้าขึ้น

2. น้ำนิ่ง

มีน้ำถาวร ได้แก่ ยุงก้นปล่อง 

ความสำคัญทางการแพทย์

1. พาหะนำโรคมาลาเรีย

ยุงที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย คือ ยุงก้นปล่อง

2. พาหะนำโรคเท้าช้าง

ยุงที่เป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง Wuchereria bancrofti คือ ยุงลาย และรำคาญ

3. พาหะนำโรคไวรัส

ยุงที่เป็นพาหะนำโรคไวรัส โดยก่อโรคที่สำคัญ คือ ไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบ ประกอบด้วยยุงมากกว่า 150 ชนิด 

4.ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการกัด เนื่องจากอาการแพ้น้ำลาย

มาตรการป้องกันยุงกัด

1. การใช้สารเคมีเพื่อฆ่ายุง

การพ่นละอองฝอย หรือการพ่นแบบ Ultar Low Volume (ULV) เป็นการพ่นน้ำยาสารเคมีจากเครื่องพ่น ละอองน้ำยาจะกระจายอยู่ในอากาศ และสัมผัสกับตัวยุงที่บินอยู่

การพ่นหมอกควัน ( Thermal Fogging ) เป็นการพ่นน้ำยาเคมีออกจากเครื่องพ่นโดยใช้อากาศร้อนพ่นเป็นหมอกควัน ให้น้ำยาฟุ้งกระจายในอากาศ เพื่อให้สัมผัสกับตัวยุง

การพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้าง ( residual spray) เป็นการพ่นสารดังกล่าวลงบนฝาผนังหรือตามที่ยุงเกาะพัก สารเคมีจะซึมผ่านขาของยุง เข้าไปฆ่ายุงได้

2. การใช้กับดัก

เป็นการล่อให้ยุงบินเข้ามาติดกับดัก เพื่อทำให้ยุงตายต่อไป เช่น กับดักแบบใช้แสงล่อ ( แสงสว่างจากหลอด Black light ) กับดักยุงไฟฟ้า กับดักยุงแบบใช้คลื่นเสียง เป็นต้น

3. การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด

นอนในมุ้ง จะใช้มุ้งธรรมดา หรือมุ้งชุบสารเคมีก็ได้ หรือจะนอนในห้องที่หน้าต่างและประตูปิดด้วยมุ้งลวด และต้องแน่ใจว่าในห้องนั้นไม่มียุงเล็ดลอดเข้าไปอาศัยอยู่

สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และควรใช้สีอ่อน

ใช้สารทากันยุง

ใช้ยาจุดกันยุง ( mosquito coil )

ใช้การรมควันสมุนไพร เช่น ควันตะไคร้ เป็นต้น

 

***ปรึกษาปัญหา เรื่อง ปลวก และ สำรวจทุกพื้นที่ ฟรี ***

    โทร.02-312-2333

 

มีสาขา กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และ
เชียงใหม่

 

ที่มา: เอกสารอ้างอิง จุฬารัตน์ นุราช, 2544, การศึกษาประสิทธิภาพของโลชั่นกันยุง จากน้ำมันหอมระเหยที่สกัดจากดอกดาวเรือง

 

 

Similar Posts