โรคฉี่หนู ภัยร้ายที่มากับหน้าฝน

โรคฉี่หนู ภัยร้ายที่มากับหน้าฝน – Very Good Services VGS

โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู คือ – Very Good Services VGS

โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วยจึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู” นอกจากจะพบเชื้อนี้ในหนูแล้วยังพบได้ใน สุนัข วัว ควาย เชื้อโรคนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้ 2 ทางคือ

  1. ทางตรง โดยการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออยู่ หรือ โดนสัตว์ที่มีเชื้อกัด
  2. ทางอ้อม เช่น 
    • เชื้อจากฉี่หนูปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเข้าสู่คนทางบาดแผล 
    • มือสัมผัสเชื้อที่ปนอยู่ในน้ำหรือดิน แล้วเอาเชื้อเข้าทางเยื่อบุในปาก ตา จมูก 
    • กินน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป

ใครมีความเสี่ยงติดโรคฉี่หนู

ใคร มีความเสี่ยง ติดโรคฉี่หนู – Very Good Services VGS
  • เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
  • คนงานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
  • กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา

โรคฉี่หนูเป็นโรคติดต่อหรือไม่

โรคฉี่หนู เป็น โรคติดต่อ หรือไม่ — Very Good Services VGS

เชื้อโรคฉี่หนู สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีแผล หรือรอยขีดข่วน หรือผิวหนังที่เปื่อยจากการแช่น้ำ และผ่านเยื่อบุที่ออ่นนุ่ม ซึ่งอาจจะติดโรคขณะว่ายน้ำ หรือขณะประกอบอาชีพที่สัมผัสกับ เลือดของสัตว์โดยตรง หรือสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ

อาการแสดงหลังการติดเชื้อ

อาการ โรคฉี่หนู - Very Good Services VGS
อาการ โรคฉี่หนู – Very Good Services VGS
  1. ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  2. กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
  3. มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
  4. ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
  5. อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค

การป้องกันโรคฉี่หนู

การป้องกันโรคฉี่หนู – – Very Good Services VGS
  1. กำจัดหนู
  2. ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะ ของโรคดังกล่าว
  4. หลีกเลียงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
  5. หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารที่ปล่อยค้างคืน โดยไม่มีภาชนะปกปิด เป็นต้น
  6. หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
  7. รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่ หรือ ยำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.sikarin.com/content/detail/198/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9

กทม (2) กรุงเทพ (1) กำจัดปลวก (4) กำจัด ปลวก (2) กำจัดยุง (1) กำจัดแมลงสาบ (2) ฉีดปลวก (1) บริการกำจัดแมลงสาบ (2) บริษัทกำจัดปลวก (4) บริษัทกำจัดแมลง (1) ปลวก (2) พ่นควันยุง (1) พ่นยุง (1) ยุง (1) สำรวจฟรี (1) แมลงสาบ (2) แมลงเม่า (2) ไล่ยุง (1) ไล่แมลงสาบ (1)